วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มูลนิธิโคคา–โคลาประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดโปรแกรม “รักน้ำ”

โค้กกระตุ้นจิตสำนึกชุมชนทั่วประเทศ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นไปอย่างยั่งยืน ตามแนวพระดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว มูลนิธิโคคา–โคลา ประเทศไทย จึงร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดโปรแกรม “รักน้ำ” ให้การสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำในชุมชนของตนเอง ที่ชุมชนบ้านลิ่มทอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์



กิจกรรมครั้งนี้ บุษยดา ยังเฟื่องมนต์ ผู้บริหารมูลนิธิโคคา-โคลาประเทศไทย กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย ได้ริเริ่มโปรแกรม “รักน้ำ” มาตั้งแต่ปี 2550 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณมา 70 ล้านบาท ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2555-2556 เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปเห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริฯ โดยกระตุ้นจิตสำนึก สร้างองค์ความรู้ อันนำไปสู่การจัดการทรัพยากร น้ำอย่างยั่งยืนทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินงานของโปรแกรม “รักน้ำ” ครอบคลุมพื้นที่ที่ธุรกิจโคคา-โคลา ได้ใช้น้ำในการผลิตเครื่องดื่มใน 8 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง, นครสวรรค์, ขอนแก่น, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ปทุมธานี, สุราษฎร์ธานี และสงขลา ชุมชนบ้านลิ่มทองเป็นหนึ่งในตัวอย่างชุมชนด้านความยั่งยืน ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จอันเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือระหว่างเอกชน องค์กรภาครัฐ และชุมชน ในการน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนมาใช้ โดยการเก็บสำรองน้ำหลากไว้ในแก้มลิง เพื่อไว้ใช้ทำการเกษตรในฤดูแล้ง ช่วยบรรเทาความเสียหายของพื้นที่ไร่นา จากที่เคยมีหนี้สิน ชาวบ้านในชุมชนกลับมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีเงินออม สามารถพึ่งตนเองได้ และมีน้ำดื่มน้ำใช้ตลอดทั้งปี สำหรับกิจกรรมนี้เราได้ระดมพลังอาสาสมัครกว่า 700 คน ในโครงการอาสาสมัครพลังบวกกับโคคา-โคลา ที่มาจากพนักงานโคคา-โคลา เจ้าหน้าที่หน่วยงานพันธมิตร ผู้นำชุมชน และเยาวชนในท้องถิ่น มาร่วมพัฒนาปรับปรุงและอนุรักษ์แหล่งน้ำชุมชน ทำกิจกรรมทำความสะอาดคลองส่งน้ำ, ปลูกต้นไม้, ปลูกหญ้าแฝก และปล่อยพันธุ์ปลา ในบริเวณสระแก้มลิงและบริเวณคลองส่งน้ำ ระยะทางกว่า 5 กิโลเมตร

พร้อมกันนี้ ดร.รอยล จิตรดอน ผู้บริหารมูลนิธิ อุทกพัฒน์ฯ กล่าวถึงการจัดการน้ำชุมชนบ้านลิ่มทอง เริ่มตั้งแต่ปี 2549 โดยเริ่มสร้างระบบประปาผิวดิน เพิ่มแหล่งสำรองน้ำเพื่อการเกษตรให้กับชุมชน ด้วยการขุดสระแก้มลิง พัฒนาปรับปรุงคลองส่งน้ำ รวมถึงขุดคลองซอยเพื่อเชื่อมแหล่งน้ำ และติดตั้งระบบน้ำดื่มโรงเรียน ซึ่งช่วยให้นักเรียน ครู และบุคลากร มีน้ำดื่มที่สะอาด มีคุณภาพ ถูกสุข-อนามัย สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดื่มได้มากกว่า 1 ล้านบาทต่อปี.

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชนคลองหนองนาค จ.สระบุรี

มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ และจังหวัดสระบุรี ร่วมพัฒนาแหล่งน้ำชุมชน ขยายผลต้นแบบการจัดการทรัพยากรน้ำตามแนวพระราชดำริ


วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๕๖ นายถาวร พรหมมีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วย นายรอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ติดตามการดาเนินงานพื้นที่ต้นแบบการจัดการทรัพยากรน้าชุมชน ตามแนวพระราชดาริ “โครงการพัฒนาแหล่งน้าชุมชนคลองหนองนาค” ตาบลหนองยาว อาเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี พร้อมมอบเกียรติบัตรแก่ผู้นาตาบลดีเด่นด้านการพัฒนาคลองสายหลัก และร่วมกับชุมชนปลูกต้นประดู่ป่า ปลูกหญ้าแฝก ปล่อยพันธุ์ปลาน้าจืด บริเวณพื้นที่คลองหนองนาค ที่ชุมชนร่วมกันจัดขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ลาน้าสายหลักที่เชื่อมต่อกับแม่น้าป่าสัก



ในปี ๒๕๕๖ มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ ได้ร่วมกับ กลุ่มเกษตรพัฒนาลุ่มน้าป่าสัก จังหวัดสระบุรี ปรับปรุงโครงสร้างแหล่งน้า โดยการขุดลอกขยายคลองหนองนาคระยะทาง ๑,๐๐๐ เมตร เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่น้าแล้งและน้าท่วม พร้อมทั้งพัฒนาแนวทางการจัดการทรัพยากรน้าชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้าชุมชน ตามแนวพระราชดาริ สร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรน้า เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในชุมชน และนาไปสู่การขยายผลแนวทางการจัดการไปยังชุมชนอื่นต่อไป


กลุ่มเกษตรพัฒนาลุ่มน้าป่าสัก ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๔ จากการรวมตัวกันของภาคประชาชน ๑,๘๐๘ ครัวเรือน ในพื้นที่ ๑๔ ตาบล ๓ อาเภอ ของจังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย อาเภอเมืองสระบุรี อาเภอหนองแซง และอาเภอหนองแค ที่เดิมประสบปัญหาขาดแคลนน้าเพื่อการเกษตร เนื่องจากปริมาณน้าในอ่างเก็บน้าคลองเพรียวไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้น้าทาการเกษตร ทาให้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้าระหว่างเกษตรกรบริเวณต้นน้าและเกษตรกรบริเวณท้ายน้า จึงเกิดการรวมตัวของกลุ่มเกษตรพัฒนาลุ่มน้าป่าสัก โดยอาศัยระเบียบ ข้อบังคับ ผนวกกับมาตรการทางสังคมที่ชุมชนร่วมกันสร้างขึ้น รวมทั้งประชุมหารือร่วมกันระหว่างเกษตรผู้ใช้น้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้าอย่างเป็นระบบและเป็นธรรม ทาให้ปัญหาการแย่งชิงน้าหมดไป



ในปี ๒๕๕๔ กลุ่มเกษตรพัฒนาลุ่มน้าป่าสัก ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้าและการเกษตร (องค์การมหาชน) ดาเนินโครงการขุดลอกแก้มลิงกักเก็บน้าห้วยบ่า ระยะทาง ๙๐๐ เมตร จากการดาเนินงานดังกล่าว ทาให้ในปี ๒๕๕๔ ชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมกว่า ๑,๕๐๐ ไร่ รอดพ้นจากน้าท่วม จากเดิมที่เคยประสบปัญหาต่อเนื่องมากว่า ๕๐ ปี และยังทาให้ภาครัฐ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการชดเชยความเสียหายในปี ๒๕๕๕ ได้ถึง ๓,๓๓๓,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ผลผลิตทางการเกษตรยังเพิ่มขึ้นจาก ๑,๓๐๒ ไร่ เป็น ๒,๕๐๐ ไร่ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก ๑๗๘,๐๕๑ บาท/ครัวเรือน/ปี เป็น ๔๐๐,๐๐๐ บาท/ครัวเรือน/ปี




จากการดาเนินงานปรับปรุงโครงสร้างน้าในปี ๒๕๕๔ กลุ่มเกษตรพัฒนาลุ่มน้าป่าสัก ได้ร่วมกันวางแผนพัฒนาโครงสร้างน้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดสรรน้าให้กับเกษตรบริเวณท้ายน้าได้อย่างทั่วถึง โดยดาเนินงานขุดลอกคลอหนองรูในปี ๒๕๕๕ พื้นที่ ๒ ตาบล คือ ตาบลคชสิทธิ์ และตาบลม่วงหวาน อาเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี รวมระยะทาง ๓,๗๖๐ เมตร ผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน ตาบลคชสิทธิ์ เพิ่มขึ้นจาก ๓,๐๓๐ ไร่ เป็น ๓,๘๑๐ ไร่ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก ๒๒๗,๒๕๐ บาท/ครัวเรือน/ปี เป็น ๓๙๕,๘๔๔ บาท/ครัวเรือน/ปี และผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนตาบลม่วงหวาน เพิ่มขึ้นจาก ๑,๑๔๑ ไร่ เป็น ๓,๒๑๘ ไร่ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก ๑๑๖,๙๗๕ บาท/ครัวเรือน/ปี เป็น ๔๙๘,๒๗๐ บาท/ครัวเรือน/ปี



ในปี ๒๕๕๖ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้คัดเลือกกลุ่มเกษตรพัฒนาลุ่มน้าป่าสัก เข้าร่วมเป็นเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้าชุมชนตามแนวพระราชดาริ และให้การสนับสนุนการดาเนินงานปรับปรุงโครงสร้างแหล่งน้าในพื้นที่ชุมชนคลองหนองนาค ตาบลหนองยาว อาเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี รวมระยะทาง ๑,๐๐๐ เมตร ซึ่งคาดว่าประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับจากการดาเนินงานดังกล่าว คือ มีปริมาณน้าสารองกักเก็บเพิ่มขึ้น ๗๔,๑๓๔ ลูกบาศก์เมตร และเสริมการใช้น้าให้กับพื้นที่การเกษตร ๑,๑๐๐ ไร่