วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ครั้งที่ 5/2558

                     ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ครั้งที่ 5/2558
       วันพุธ ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2558 ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ครั้งที่ 5/2558 โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานที่ประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 3 มูลนิธิชัยพัฒนา ซอยอรุณอมรินทร์ 36 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร




วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าลุ่มน้ำลาว"

                              “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ 
                                                 เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าลุ่มน้ำลาว"
       เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีเปิด “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ เครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าลุ่มน้ำลาว" ณ ศูนย์ประสานงานเครือข่ายชุมชนรักษ์ป่าลุ่มน้ำลาว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยมีส่วนราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายศูนย์น้ำจังหวัดพะเยา แพร่ และประชาชนเข้าร่วมงาน เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้จากความสำเร็จของชุมชน ที่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริ กรอบคิด กรอบงาน มาพัฒนาการจัดการน้ำชุมชนจนประสบผลสำเร็จ เป็นแบบอย่างให้ชุมชนอื่นมาศึกษาเรียนรู้ อธิบายผ่านแผนที่และภาพความเปลี่ยนแปลง ให้เข้าใจง่าย และสามารถนำไปปรับใช้ได้






















วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

งานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ลุ่มน้ำชี ครั้งที่ 2

           งานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ 
                                                             ลุ่มน้ำชี ครั้งที่ 2
           เมื่อวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2558 มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ลุ่มน้ำชี ครั้งที่ 2 ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน บ้านคำปลาหลาย อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อร่วมกันเสนอแนวทางพัฒนาลุ่มน้ำสาขา พร้อมสรุปแนวทางดำเนินงานพัฒนาลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำชี ฉบับประชาชน




วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ชุมชนบ้านผาชัน จังหวัดอุบลราชธานี”

                             “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ 
                                           ชุมชนบ้านผาชัน จังหวัดอุบลราชธานี”
            เมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2558 นายรอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีเปิด “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ ชุมชนบ้านผาชัน จังหวัดอุบลราชธานี” ณ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวบ้านผาชัน ต.สำโรง อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี โดยมีส่วนราชการ จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ร่วมงาน เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้จากความสำเร็จของชุมชน ที่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริ กรอบคิด กรอบงาน มาพัฒนาการจัดการน้ำชุมชนจนประสบผลสำเร็จ เป็นแบบอย่างให้ชุมชนอื่นมาศึกษาเรียนรู้ อธิบายผ่านแผนที่และภาพความเปลี่ยนแปลง ให้เข้าใจง่าย และสามารถนำไปปรับใช้ได้





วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ

                                                 ประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ
       เมื่อวันศุกร์ที่ 30 ต.ค. 58 ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ กรรมการและรองเลขาธิการ เข้าร่วมบรรยายเรื่อง "การจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ" ในงานประชุมสภาเกษตรกรแห่งชาติ ณ ห้องประชุมพึ่งบุญชั้น 8 สนง.เศรษฐกิจการเกษตร สภาเกษตรกรแห่งชาติ




วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558

SCG รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต

                                                      SCG รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต
         วันจันทร์ที่ 19 ต.ค. 58 ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวปาฐกถาภายในกิจกรรม SCG รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต จ.สระบุรี โดย SCG ร่วมกับชุมชน สร้างฝายชะลอน้ำ ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้งอย่างยั่งยืน จัดขึ้น ณ อาคารพัฒนาและฝึกอบรม บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด และบริเวณเขาคร่าว ต.ท่าคล้อ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
         หลักการ "เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา" ในกระแสพระราชดำรัส คือ การสร้างความมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภายนอก เพื่อร่วมกันวิเคราะห์แก้ไขปัญหาที่ชุมชนกำลังประสบอยู่ โดยใช้หลักการทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นวิธีที่เรียบง่าย ประหยัด เหมาะสมกับภูมิสังคม ขณะเดียวกันยังทำให้ชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นของตนเองอย่างยั่งยืน อาทิ โครงการรักษ์น้่ำ เพื่ออนาคต ที่เอสซีจี และชุมชนร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำ จังหวัดลำปาง จากนั้นได้ขยายโครงการไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาน้ำขาด น้ำเกิน ทั้งยังขยายพื้นที่มายังภาคกลางในจังหวัดสระบุรี ซึ่งได้ช่วยแก้ปัญหาน้่ำท่วมที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝนเกือบทุกปี ดร. สุเมธ กล่าว